ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล คืออะไร และทำไม HR จึงต้องให้ความสนใจ


Draft of the Human Resources Management Profession Act

การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดขึ้นในประเทศไทยมานานกว่า 80 ปีแล้วและปัจจุบันก็มีผู้ประกอบวิชาชีพนักบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรเอกชนและภาคธุรกิจจำนวนมากและเพื่อให้พนักงานได้รับสวัสดิการที่ดี ได้รับความเป็นธรรมในการประเมินเลื่อนตำแหน่ง และค่าตอบแทน มีความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงานของพนักงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมี คุณภาพ

ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายในการควบคุมมาตรฐานและจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานเดียวกันและได้รับ การยอมรับในระดับสากล รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพให้แก่ผู้ ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล จึงจำเป็นต้องมีการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในบทความนี้เราจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นของ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล กันครับ

ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล คืออะไร

ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล คือ กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานความรู้ ความสามารถ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลและควบคุทให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

โดยในขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย โดยร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และผ่านการสอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะจัดขึ้นโดยสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล

โดยบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในร่างพระราชบัญญัติ
  • ผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลต้องผ่านการสอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบวิชาชีพที่สภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลกำหนด
  • สภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่ในการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล

การออกร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล มีจุดประสงค์เพื่ออะไร?

คล้ายกับวิชาชีพอื่นๆ เช่น หมอ วิศวะ บัญชี ที่การยกระดับวิชาชีพใดชวิชาชีพหนึ่งที่ได้รับการรับรองย่อมส่งผลดีต่อตัวผู้ประกิบวิชาชีพและนายจ้าง ที่จะมั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอและยังผ่านมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ โดยวัตถุประสงค์หลักของออกนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้มีด้วยกัน 3 ข้อหลักๆ

  • ยกระดับวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากสังคม โดยกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพให้ชัดเจนและเข้มงวด
  • คุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นต้น
  • ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ

ใครที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้บ้าง?

  • ผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
  • สภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ผู้รับบริการวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
  • หน่วยงานของรัฐ

ถ้ามีการบังคับใช้ พ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายจะได้ประโยชน์อย่างไร ?

นักบริหารทรัพยากรบุคคล

  • ได้รับการยกระดับเป็นวิชาชีพเฉพาะ
  • เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ HR
  • มีสภาวิชาชีพเป็นตัวแทนในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ

พนักงานหรือลูกจ้างในองค์การ

  • มีความเชื่อมั่นในระบบ HR
  • มั่นใจได้ว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
  • มีผลต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล และครอบครัว

นายจ้างและเจ้าของกิจการ

  • มั่นใจได้ว่านักบริหารทรัพยากรบุคคลมีความรู้ ความสามารถ อย่างมืออาชีพ
  • มีนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่ สามารถดูแลพนักงานให้ทํางาน อย่างมีความสุข ได้รับการ พัฒนาความรู้ ความสามารถ มีความสามารถสร้างงานที่มี คุณภาพ และขับเคลื่อเป้าหมาย องค์การให้สําเร็จ

สังคมและประเทศ

  • ประชากรในวัยทํางานได้รับการ ดูแลให้มีความถึงพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และคุณภาพชีวิต อันเป็นการยกระดับศักยภาพแรงงานของประเทศ
  • นักลงทุนจากต่างประเทศมีความ เชื่อมั่นในการมาลงทุนในประเทศ ไทย

ทำไม HR ต้องให้ความสนใจกับร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล

1.เป็นมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ

ร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพมีความรู้ความสามารถ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ

ร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการว่าจะได้รับบริการจากนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

3.ยกระดับวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล

ร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยยกระดับวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากสังคมมากขึ้น

สรุปได้ว่า HR ควรให้ความสำคัญกับร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เนื่องจากร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยให้วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับจากสังคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพ HR ในการประกอบอาชีพและการพัฒนาวิชาชีพในอนาคต นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลยังช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพ HR เช่น สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นต้นดังนั้น คนเป็น HR ควรศึกษาและติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบวิชาชีพในอนาคต

ทั้งนี้ HR ท่านใดที่สนใจศึกษารายละเอียดฉบับเต็มของพระราชบัญญัติวิชาชีพบริหารบุคคลสามารถคลิกที่นี่