วัด KPI แต่ละระดับมีความแตกต่างกันอย่างไร


การกำหนด KPI ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดและธรรมชาติของที่ทำงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ และแต่ละระดับก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันดังนี้

  1. กำหนด KPI ระดับองค์กร (Organization indicators) – เป็นการกำหนดเป้าหมายหลักร่วมกันของทุกคนในองค์กร เพื่อให้การทำงานมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นจะเป็นตัวที่บอกถึงความสำเร็จขององค์กรนั้นนั่นเอง
  2. กำหนด KPI ระดับหน่วยงาน (Department indicators) – เมื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กรไปแล้ว แต่ในองค์กรก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละฝ่ายก็จำเป็นที่จะต้องกำหนด KPI ในหน่วยงานของตัวเองด้วย และต้องมีความสอดคล้องกับ KPI หลักขององค์กรนั่นเอง
  3. กำหนด KPI ระดับบุคคล (Individual Indicators) – รองลงมาก็คือการกำหนด KPI ของแต่ละบุคคลซึ่งตามปกติแล้วที่ทำงานมักจะมีเกณฑ์กำหนดคุณภาพการทำงานของพนักงานอยู่แล้ว ซึ่ง KPI นี้จะส่งผลเชื่อมโยงไปถึง KPI ขององค์กรด้วย อีกทั้ง KPI ระดับนี้ยังเป็นตัวชี้วัดในการกำหนดอัตราการขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งด้วยนะ ระวังกันดีๆ นะเพื่อนๆ อิอิ
  4. กำหนด KPI ระดับ KPI รอง (Secondary indicators) – จะว่ากันให้เข้าใจง่ายสุดๆ ก็คือคะแนนสเน่หาก็ว่าได้ ซึ่งจะไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนระดับอื่นๆ แต่จะเป็นการประเมินพฤติกรรมในการทำงาน เช่น การสนับสนุนหน่วยงาน, การให้บริการที่ดี, การสร้างผลงานได้มากกว่า KPI เป็นต้น (เป็นหนึ่งในการวัดผลทางอ้อมที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้)

ข้อมูลจาก HR NOTE.asia